Fed คงดอกเบี้ย ที่ 25-4.5% แม้เศรษฐกิจชะลอและเงินเฟ้อยังสูงFed มองเงินเฟ้อจากภาษีเป็นแค่ “ชั่วคราว” ไม่เร่งลดดอกเบี้ยนักเศรษฐศาสตร์กังวล Fed อาจประเมินต่ำเกินไปเหมือนหลังโควิดTrump กดดันให้ลดดอกเบี้ย ผ่าน Truth Socialตลาดหุ้นปรับขึ้นสั้น ๆ แต่ความเสี่ยงยังสูงMerkle เตือนภาวะ Stagflation และนโยบายภาษี Trump เป็นความไม่แน่นอนหากเงินเฟ้อลดและ Fed ส่งสัญญาณชัด อาจเป็นบวกต่อ หุ้น-คริปโต
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25-4.5% เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน แม้ว่าสัญญาณทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามการค้าของสหรัฐฯ กับจีนจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม FED เลือกที่จะลดความสำคัญของความเสี่ยงเหล่านี้ โดยกล่าวว่าผลกระทบด้านเงินเฟ้อจากมาตรการภาษีเป็นเพียงแค่ “ชั่วคราว” (transitory) และไม่จำเป็นต้องดำเนินการตอบโต้ทันที โดยคำดังกล่าวนี้เคยเป็นแนวคิดที่ Fed เคยใช้ผิดพลาดในช่วงที่เงินเฟ้อพุ่งสูง ช่วงหลังโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัย ในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นการประเมินสถานการณ์ที่ต่ำเกินไป โดยไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน หาก Fed สูญเสียการควบคุมด้านเงินเฟ้อสิ่งนี้อาจจะให้ การลดเงินเฟ้อในอนาคตอาจต้องใช้มาตรการที่หนักต่อเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน
แม้ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนบ่งชี้ว่าผู้บริโภคคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะ 5-10 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 3.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี แต่อย่างไรก็ตามพาวเวลล์กลับมองว่าข้อมูลดังกล่าวเป็น “ค่าผิดปกติ” (outlier) และไม่ใช่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากเกินไป นอกจากนี้ เขายังแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง และตัวชี้วัดที่เป็นข้อมูลจริง ยังคงแสดงถึงความมั่นคงของตลาดแรงงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ Fed ยังไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ยในขณะนี้
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้แพลตฟอร์ม Truth Social กดดันให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ย โดยระบุว่ามาตรการภาษีของสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเป็นเวลาที่ Fed ควร “ทำในสิ่งที่ถูกต้อง” พร้อมทั้งกล่าวว่า วันที่ 2 เมษายน คือวันปลดปล่อยของอเมริกา การที่ Fed ยังคงดอกเบี้ยในระดับสูงและสร้างแรงกดดันต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ทว่าพาวเวลล์ยังคงรักษาจุดยืนว่าการลดดอกเบี้ยต้องเกิดขึ้นในจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น
หลังจากคำแถลงของ FED ช่วยให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยง และดัชนี S&P 500 ปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดคือหาก Fed คาดการณ์ผิดพลาดเหมือนในอดีต เงินเฟ้ออาจไม่ใช่เพียงแค่ชั่วคราว และอาจต้องใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นเพื่อควบคุมสถานการณ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะยาว
ทั้งนี้มุมมองของนักวิเคราะห์ Merkle Capital เชื่อว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่ FED ยังไม่มีท่าทีชัดเจนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง สถานการณ์ดังกล่าวกำลังสร้างความเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ (Stagflation) ซึ่งเป็นภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ Fed ยังคงระมัดระวังและเลือกใช้นโยบายแบบรอดูท่าที โดยให้น้ำหนักกับการควบคุมเงินเฟ้อมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างแรงกดดันและความไม่แน่นอนให้กับตลาด คือทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องนโยบายภาษีที่ยังไม่มีความชัดเจน มองว่าผลกระทบจากนโยบายภาษีจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่ได้สะท้อนอย่างเต็มที่ ซึ่งหากนโยบายภาษีมีแนวโน้มไม่เอื้อต่อการเติบโต หรือสร้างภาระให้กับภาคธุรกิจภายในประเทศก็อาจกดดันสินทรัพย์เสี่ยงให้ปรับตัวลงในระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม หากตัวเลขเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และ Fed มีสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่าจะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปี นั่นอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และส่งผลเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นและคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งตอบสนองต่อสภาพคล่องได้อย่างรวดเร็ว”
หมายเหตุ คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้