news-details
Business

“ทีทีบี” เดินหน้า LEAD the CHANGE ขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจ ปี’67 เร่งทรานส์ฟอร์มองค์กรผ่าน 4 ด้าน ทั้งจับมือพันธมิตรสร้าง Ecosystem Play เสริมแกร่ง ช่วยลูกค้าลดหนี้-เพิ่มเงินออม

ทีเอ็มบีธนชาต เปิดแผนขับเคลื่อนกลยุทธ์ธุรกิจ ปี67 เพื่อเดินหน้า LEAD the CHANGE เร่งทรานส์ฟอร์มองค์กรผ่าน 4 ด้านสำคัญ ทั้งจับมือพันธมิตรชั้นนำสร้าง Ecosystem Play เสริมแกร่ง มอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าแบบครบวงจร สานต่อพันธกิจ The Bank of Financial Well-being หวังลดปัญหาหนี้ครัวเรือน ลูกค้าสามารถบริหารจัดการหนี้ กลับมามีเงินออม ไม่กังวลลูกค้าบ้านต่ำกว่า 3 ล้านบาท เหตุส่วนใหญ่กู้แบงก์รัฐมากกว่าแบงก์พาณิชย์

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด(มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (TTB) เปิดเผยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาทีทีบีได้ดำเนินธุรกิจ โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centric) เพื่อสานต่อพันธกิจในการมุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้า และในปี 2567 นี้ ธนาคารได้เดินหน้าที่จะ LEAD the CHANGE หรือเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า โดยเร่งทรานส์ฟอร์ม (Transform) องค์กรแบบรอบด้าน นำดิจิทัลมาดูแลลูกค้าทุกกลุ่มในทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด Ecosystem Play ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth โดยมีแอป ttb touch เป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมต่อโซลูชันและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากพันธมิตรชั้นนำของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินในระดับเฉพาะบุคคล หรือ Segment-of-One เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้าน

มุ่งทรานส์ฟอร์ม 4 ด้านสำคัญ เพื่อเดินหน้า LEAD the CHANGE

1.Digital Transformation ทีทีบีได้จัดตั้งทีมดิจิทัลขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าพัฒนาแอปพลิเคชัน ttb touch และ ttb business one ภายใต้คอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทั้งรายย่อยและธุรกิจ อีกทั้งต่อยอดโซลูชัน Beyond Banking ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ซึ่งถือเป็นการวางกลยุทธ์สร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรเพื่อสร้าง New Business Model ใหม่ๆ

2.Revenue Model Transformation เริ่มต้นจากการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของธนาคารขึ้นมาอยู่บนแอป ttb touch เพื่อให้ลูกค้าสามารถสมัครใช้ได้สะดวกสบายมากขึ้น และปัจจุบันธนาคารได้นำ Personalized AI Engine มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษแบบเฉพาะบุคคล หรือ Segment-of-One พร้อมกับการผนึกกำลังพันธมิตรชั้นนำของธนาคารมุ่งเน้นเสริมสร้างให้เกิด Ecosystem Play เพื่อส่งมอบโซลูชันและบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ ตรงใจ ช่วยให้ลูกค้าแต่ละ Ecosystem มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้านในทุกช่วงเวลา

3.Channel & Process Transformation ธนาคารต้องการยกระดับความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบ Digital-First Experience ซึ่งวันนี้ 94% ของธุรกรรมที่สาขา ลูกค้าสามารถเปลี่ยนมาทำธุรกรรมได้ผ่านแอปฯ ttb touch และที่ผ่านมาธนาคารมุ่งเน้นให้พนักงานสาขาเป็น Digital Ambassador แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านแอปฯ เพื่อความสะดวก ลดเวลาการเดินทางไปสาขา และปรับเปลี่ยนบทบาทพนักงานให้เป็นที่ปรึกษาและให้บริการในธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น พร้อมยกระดับสาขาให้เป็น Digital Branch ที่มีเครื่องมือดิจิทัลในการอำนวยความสะดวก และให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อ

4.Organizational Transformation เพื่อให้ทีทีบีมีศักยภาพในการ Make REAL Change อย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการ ปรับเปลี่ยนทั่วทั้งองค์กรในช่วงที่ผ่านมา โดยสร้างทีมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง หรือ ttb spark เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพทางด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ผ่านการพัฒนาแอป ttb touch และทีม ttb spark academy ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ และทดลองฝึกงานด้าน Tech & Data รวมถึงการพัฒนา (Up-skill) และยกระดับทักษะ (Re-skill) ให้กับบุคลากรทั้งองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและการธนาคารในโลกอนาคต เพื่อให้ธนาคารสามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

จับมือพันธมิตรเร่งเครื่อง Ecosystem Play ส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าผ่านแอปฯ ttb touch

นายปิติ กล่าวต่อว่า ผลลัพธ์จากการทรานส์ฟอร์มอย่างต่อเนื่องจะทำให้ธนาคารสามารถ LEAD the CHANGE เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่างและเหนือกว่าผ่านแอปฯ ttb touch ผ่านกลยุทธ์ Ecosystem Play บน 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารมีความชำนาญ โดยเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในการนำเสนอโซลูชันต่าง ๆ ที่มากกว่าการธนาคาร เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงให้ความสำคัญในการพัฒนาแอปฯ ttb touch ให้เป็น Humanized Digital Banking ที่นอกจากจะเข้าใจลูกค้าในระดับบุคคลแล้ว ยังพร้อมช่วยเหลือดูแลลูกค้าผ่าน “ยินดี-YinDee” ที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยบนมือถือ หรือ Virtual Assistant ที่จะช่วยค้นหา ให้คำปรึกษา ตอบคำถาม แก้ไขปัญหาให้ลูกค้าผ่านแอปฯ ttb touch ตลอด 24 ชั่วโมง

คนมีรถ-Car Owner Ecosystem ธนาคารต้องการอยู่เคียงข้างคนมีรถในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่ช่วย ดูแลจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับรถ ผ่านฟีเจอร์ My Car ทั้งการจ่ายสินเชื่อ ซื้อ-ต่อประกันรถ ต่อ พ.ร.บ. / ภาษีรถ เติมเงิน-เช็กยอด Easy Pass มอบสิทธิประโยชน์ เพื่อการดูแลรถจากพันธมิตรชั้นนำ รวมถึงยังสามารถเลือกขายรถผ่านลานประมูล เจ้าหน้าที่มาตรวจสภาพรถถึงบ้าน พร้อมขับเข้าลานประมูลให้ สำหรับลูกค้าที่ อยากซื้อรถ สามารถเช็กสุขภาพเครดิตผ่านฟีเจอร์ My Credit เพื่อประเมินวงเงินสินเชื่อและสมัครสินเชื่อได้ทันที พร้อมเลือกซื้อรถมือสองคุณภาพดีผ่าน Roddonjai.com มีรถให้เลือกร่วม 16,000 คัน จากดีลเลอร์และพันธมิตรชั้นนำกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากเปิดตัวมาได้ไม่กี่เดือนมีลูกค้าให้ความไว้วางใจซื้อรถจาก Roddonjai.com ไปแล้วกว่า 12,000 คัน และที่สำคัญที่สุด หากลูกค้า มีปัญหาชีวิตติดขัด รถคุณก็ช่วยได้ด้วยสินเชื่อรถแลกเงิน ทีทีบี ไดรฟ์ ที่สมัครได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ ttb touch

คนมีบ้าน–Home Owner Ecosystem ผู้ช่วยจัดการเรื่องบ้านแบบครบวงจร ตั้งแต่ เรื่องจุกจิกรายเดือน ด้วยฟีเจอร์ My Home ที่รวมการจ่ายบิลเกี่ยวกับบ้านไว้ที่เดียว พร้อมทั้งบริการแจ้งเตือนล่วงหน้าไม่ให้ลืมจ่าย และยัง สมัครสินเชื่อบ้าน ผ่านแอปฯ ttb touch ได้ เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน / Top Up สินเชื่อบ้านใหม่-บ้านมือสอง-บ้านรีไฟแนนซ์ และบัตรกดเงินสดบ้านแลกเงิน พร้อมรับสิทธิประโยชน์ส่วนลดเพื่อ การดูแลรักษาบ้าน จากพันธมิตรชั้นนำ

พนักงานเงินเดือน-Salaryman Ecosystem เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของพนักงานเงินเดือน ทีทีบีช่วยเติมเต็ม ด้านการใช้จ่ายให้คุ้มค่ามากขึ้น นอกจากจะมีบัตร ttb all free ฟรี! กด โอน จ่าย เติม ทีทีบียัง LEAD the CHANGE เหนือกว่าด้วยการให้ลูกค้าสามารถถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตรจากตู้เอทีเอ็มธนาคารพันธมิตรได้ฟรี ด้านบัญชีเงินฝากก็มีให้เลือกออมได้หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการทุกกลุ่ม พร้อม ช่วยให้จัดการหนี้อย่างฉลาด ด้วยโปรแกรมวัดระดับหนี้ (Financial Health Check) โซลูชันรวบหนี้ และในอนาคตจะมีโค้ชปลดหนี้ที่ช่วยให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาหนี้ให้กับลูกค้าบัญชีเงินเดือนทีทีบี ทั้งมี ความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ได้ในทุกช่วงชีวิต โดยมีพันธมิตรชั้นนำมากกว่า 30 ราย นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ My Tax บนแอป ttb touch ช่วยพนักงานเงินเดือนจัดการเรื่องภาษีให้ง่ายขึ้น พร้อมฟีเจอร์ My Work ที่ช่วยพนักงานลงเวลาเข้า-ออกงาน บริหารจัดการวันลา และคำขอต่าง ๆ ผ่านแอป ttb touch ได้ ในขณะที่บริษัทจะสามารถบริหารจัดการเรื่องเงินเดือน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานได้ง่าย มีประสิทธิภาพ พร้อมดูรายงานได้แบบ Real-Time ผ่าน My Work เช่นกัน

ลูกค้า Wealth-Wealth Ecosystem แอปฯ ttb touch จะเป็นผู้ช่วยต่อยอด ความคุ้มค่า-มั่นคง-มั่งคั่ง ผ่านบัตรเครดิต ttb reserve ด้วยการมอบคะแนนสะสมพิเศษรายปีให้กับลูกค้าภายใต้แนวคิด Earn Fast-Burn Smart เพื่อนำไปแลกของรางวัลตามที่ต้องการ รวมถึงสามารถแลกเป็นส่วนลดประกัน หรือกองทุนรวมที่ซื้อกับทีทีบีในรูปแบบเครดิตเงินคืนเข้าบัตรฯ เพื่อต่อยอดความมั่นคงให้ครอบครัว นอกจากนั้น ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การลงทุน ทั้ง Wellness Investment ที่ช่วยเพิ่มพูนความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน อาทิ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่คุ้มครองเงินต้น (Principal Protected) และ Foreign Investment ที่เพิ่มโอกาสและศักยภาพในการลงทุนต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) สกุลเงิน US Dollar พร้อมมีทีม Private Banking ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้ง่าย ๆ

“ทีทีบีเชื่อมั่นว่าการทรานส์ฟอร์มทั้งหมดนี้ และเสริมแกร่งด้วยพันธมิตรที่หลากหลายผ่านการสร้าง Ecosystem Play จะทำให้ธนาคารนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรมากยิ่งขึ้น พร้อมเดินหน้าสู่ธนาคารที่เป็นผู้นำด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งในวันนี้ และอนาคต เพราะเราต้องการทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่สูง ด้วยการทำให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อให้คนไทยมีหนี้ที่สามารถบริหารได้ผ่านการจัดการหนี้ และสามารถมีเงินออมได้ในที่สุด เพื่อตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือน สำหรับในส่วนของบ้านระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาเรื่องยอด Reject ที่สูง และยังได้รับผลกระทบก่อน ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้ธนาคาพาณิชย์ โดยเฉพาะทีทีบี จะไม่ค่อยมีมาก ส่วนใหญ่จะไปเป็นลูกค้าธนาคารของรัฐมากกว่า” นายปิติ กล่าว

ทั้งนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ที่ที่บีให้ความสำคัญกับการเติบโตสินเชื่อคุณภาพและปรับปรุงพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิด เป็นผลให้สินเชื่อชั้นที่ : อยู่ในะดับคงที่และการก่อตัวของหนี้เสียอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยสินเชื่อชั้นที่ 3 อยู่ที่ 41,008 ล้นบาท ณ เดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากสิ้นปี 2565 และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ร้อยละ 2.62 เป็นไปตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากนี้ ด้วยสถานะการเงินที่แข็งแกร่งจึงเอื้อให้ธนาคารสามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยงหรือเพิ่มระดับ LLR ผ่านการตั้งสำรอง*พิเศษเป็นจำนวน 4.886 ล้านบาท เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต เป็นผลให้ในรอบ12 เดือน ปี 2566 ธนาคารตั้งสำรองฯ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 22,199 ล้านบาท หากไม่รวมสำรองพิเศษ ะดับสำรองฯ อยู่ที่ 17,313 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ 128 bps อยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด ขณะเดียวกันอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (coverage ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ155 ณ เดือนธันวาคม 2566 เทียบกับร้อยละ 138 ของเดือนธันวาคม 2565หลังค่าใช้จ่ายสำรองฯ และผลประโยชน์ทางภาษี ที่ที่บีมีกำไรสุทธิ 18,462 ล้านบาทสำหรับ 12 เดือน ปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 YoY คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ ร้อยละ 8.2 จากร้อยละ 6.6 ของรอบ 12 เดือนปี 2565

ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา บริษัท ทีบีซีโอ (เดิมคือ ธนาคารธนชาต (TBANK) หนึ่งในบริษัทย่อยของทีที่บี ได้ดำเนินการจดทะเบียนชำระบัญชีกับกระทรวงพาณิชย์เสร็จสิ้นเรียบร้อย เนื่องด้วยธนาคารมีผลขาดทุนทางภาษีจากเงินลงทุนในบริษัทย่อยดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นผลประโยชน์ทางภาษีได้เมื่อการดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ผลประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากผลขาดทุนในเงินลงทุนนี้ สามารถรับผู้ได้ตามผลกำไรที่เกิดขึ้นในงวดส่งผลให้ธนาคารไม่มีค่าใช้จ่ายทางภาษีในปี 2586 ทั้งนี้ ผลประโยชน์ทางภาษีส่วนที่เหลือจำนวน 15.5 พันล้านบาท สามารถรับรู้ได้ถึงปี 2571 โดยการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีจะทยอยรับรู้ตามการประมาณการรายได้ในอนาคต ไม่ได้ใช้วิธีรับรู้เท่ากันทุกปี (straight-ine basis)

 

 

You can share this post!