รายงานฉบับใหม่โดย รีเล็กซ์ โซลูชันส์ ผู้นำโซลูชันด้านการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ซัพพลายเชนและระบบค้าปลีก เปิดเผยว่า 57% ของบริษัทค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภควางแผนลงทุนด้าน Generative AI เพื่อใช้ในการคาดการณ์ตลาดในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่ง AI และแมชชีนเลิร์นนิงถูกจัดให้ความสำคัญอันดับที่ 5 ซึ่งในอันดับ 1 ถึง 4 ประกอบไปด้วย การใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ eCommerce การยกระดับการจัดการสินค้าคงคลัง การคาดการณ์ความต้องการ และการใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ประเมินบทบาทของ AI สำหรับการจัดการกับความไม่แน่นอนด้านความต้องการของผู้บริโภคต่ำเกินไป
รายงานสถานการณ์ซัพพลายเชน 2567: การเปลี่ยนแปลงด้านการค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค จาก รีเล็กซ์ โซลูชันส์ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทาย การลงทุนเชิงกลยุทธ์ และโอกาส สำหรับบริษัทค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ในภาพรวม ความท้าทายสำคัญในการปรับปรุงซัพพลายเชนให้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผลสำรวจเผยถึงความท้าทาย 3 อันดับแรก ประกอบด้วย ความไม่แน่นอนด้านความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (55%) เหตุการณ์และความพลิกผันระดับโลก (50%) การรับรู้ความต้องการของลูกค้าที่ไม่แม่นยำ (43%) นอกเหนือจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากถึง 94% ระบุว่าโซเชียลมีเดียส่งผลต่อยอดซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้น หรือความผันผวนด้านความต้องการสินค้าในบริษัทในช่วง 12-24 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณอีกประการหนึ่งที่คาดการณ์และรับรู้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในทุกช่องทาง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ
กลุ่มค้าปลีกเร่งปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายตอบรับความต้องการจากออมนิชาแนล (Omnichannel)
กลุ่มค้าปลีกกำลังปรับโครงสร้างของซัพพลายเชนเพื่อสำรวจความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงช่องทางจัดจำหน่าย การถูกดิสรัป และสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยข้อสรุปที่สำคัญจากรายงาน ประกอบด้วย
● ความสามารถที่สำคัญที่สุด 3 อันดับแรกสำหรับผู้ค้าปลีกในการจัดการความต้องการของผู้บริโภคและการจัดการสินค้าคงคลัง ได้แก่ การมองเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ (45%) การรับรู้ถึงความต้องการของลูกค้า (45%) และเครื่องมือจัดการระบบสินค้าคงคลัง (43%)
● ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 59% กำลังขยายตัวเลือกออมนิชาแนลในการจัดส่งสินค้าจากสถานที่บางแห่งเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการในการจัดส่งสินค้าของผู้บริโภค โดยรับมือกับความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค
● กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (53%) กำลังขยายตัวเลือกฐานซัพพลายเออร์หรือตัวเลือกการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มตัวเลือกมากขึ้นซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกดิสรัป
กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค: กับการสร้างสมดุลการลงทุนด้วยความร่วมมือกับกลุ่มการค้าปลีกมากขึ้น
ขีดความสามารถของการผนวกรวมระบบการวางแผนซัพพลายเชนมีความสำคัญต่อกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสถานการณ์ที่ผันผวนและความร่วมมือกับกลุ่มการค้าปลีก รวมถึงการขยายจุดที่สัมผัสกับลูกค้า (Consumer Touchpoints) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยากเนื่องจากข้อจำกัดแบบเดิมที่ซับซ้อน และจำเป็นต้องแลกกับการเชื่อมต่อระบบขององค์กรทั้งหมดไว้ด้วยกัน โดยข้อสรุปที่สำคัญจากรายงาน ประกอบด้วย
● 79% ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคระบุว่าการวางแผนรายวันเพื่อการคาดการณ์ที่แม่นยำและเพื่อปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการของตลาดมีความสำคัญอย่างยิ่ง
● 32% ระบุถึงแผนงานที่ขาดการเชื่อมโยงระหว่างทีม ระบบ และภูมิภาค และ 27% ระบุถึงวงรอบการวางแผนเดินหน้าได้อย่างเชื่องช้าและการวางระดับแผนงานไม่เหมาะสม กำลังส่งผลต่อการดำเนินการตามแผนงานด้านแวลูเชนแบบครบวงจรในทุกวันนี้
● ความไม่แน่นอนด้านซัพพลาย เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบและปัญหาด้านการผลิต ส่งผลต่อความสามารถในการส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อของผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคมากถึง 82%
● เพื่อสำรวจปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค เช่น อัตราเงินเฟ้อ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านสินค้าคงคลังและกลยุทธ์ด้านการผลิตผ่านการตรวจจับความต้องการ (48%) เพิ่มสต็อกสำรองและเก็บสินค้าคงคลังในจำนวนที่มากขึ้น (22%) และอัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงคลังและกลยุทธ์การผลิต
นาย ลอว์เรนซ์ เบรนิก โจนส์ รองประธานฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด รีเล็กซ์ โซลูชันส์ กล่าว “อุตสาหกกรรมค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงเผชิญกับความซับซ้อน และความท้าทายระดับโลก ซึ่งต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อคาดการณ์และรับมือกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ บริษัทต่างๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการซัพพลายเชนโดยเปลี่ยนระบบการทำงานจากไซโล และเปิดรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI และแมชชีนเลิร์นนิง รวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกันและความคล่องตัว เพื่อทำให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ที่จะประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่สามารถทำงานได้อย่างมีสเถียรภาพและมีการปรับตัว สามารถรับรู้และตอบสนองต่อปัญหาและโอกาสแบบเรียลไทม์และปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเมื่อเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้บริษัทค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถสร้างซัพพลายเชนแห่งอนาคตและปลดล็อคการเติบโตและความสามารถในการทำกำไรในระดับใหม่ได้ด้วยกรอบความคิด เครื่องมือ และพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสม”