“หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ยกฟ้อง ข้อพิพาทเอกชน- รัฐ คดีรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก หลายคนอาจไม่ทราบว่า มหากาพย์ที่ต้องแลกด้วยเวลาหลายปี ที่ส่งผลให้โครงการก่อสร้างล่าช้า สร้างต้นทุนค่าดูแลรักษาระบบที่ก่อสร้างเสร็จ และค่าเสียโอกาสนับแสนล้านบาท ขณะที่กระทรวงคมนาคมมั่นใจโครงการได้ไปต่อ แต่จะง่ายหรือไม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เป็นผู้ฟ้องคดี กับ คณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 และ รฟม. ในฐานะผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 ข้อพิพาทของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี สุวินทวงศ์ ซึ่งผู้ฟ้องคดี ระบุคณะกรรมการคัดเลือกฯ ทำการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายนทีผ่านมา / ศาลปกครองสูงสุด ได้พิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา “ยกฟ้อง” ในคดีนี้
แต่ประเด็นที่กำลังร้อนแรง วิพากวิจาณ์กันหนัก คือผลที่เกิดจากการโดนเอกชนฟ้องร้อง ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี /ที่ ปัจจุบันแม้ว่างานโยธา จะก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ / เนื่องจากสัญญาจ้างเดินรถผูกอยู่กับงานโยธาช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่ติดอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลปกครองนับปี โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้า
พบว่ามีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท ต่อปี เพราะงานก่อสร้างโยธาส่วนตะวันออกที่เสร็จแล้วแต่ไม่ได้ใช้ มีค่าใช้จ่ายตามมามากมายทั้งการบำรุงรักษาระบบ 495 ล้านบาท /ปี, ค่าเสียโอกาสเก็บค่าโดยสารจากสีส้มตะวันออก 1,764 ล้านบาท/ปี, บวกกับค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ 40,644 ล้านบาท/ปี จากเดิม ที่ รฟม.มีแผนจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกในเดือนมีนาคม 2567 การล่าช้าไปถึง 3 ปี ทำให้ประเทศเสียหายถึง 1.3 แสนล้านบาท ใครจะรับผิดชอบ...?
ย้อนดูทาร์มไลน์ โครงการมหากาพย์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม นับจากวันที่ รฟม.ออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ พีพีพี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2563 / มีการปรับเกณฑ์เทคนิค จนมีเอกชนฟ้องร้อง 24 พ.ค. 2565 รฟม.ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งที่2 ก่อน 16 ก.ย.2565 รฟม.ประกาศผลพิจารณาข้อเสนอเอกชน โดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นบริษัทที่ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด โดยกระทรวงคมนาคม ในยุค นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้พยายามผลักดัน ให้โครงการประกวดราคา เดินหน้าให้แล้วเสร็จ เพื่อลดความเสียหาย จากโครงการล่าช้า / ส่วนการปรับหลักเกณฑ์ ของ รฟม. ได้ยืนยันถึงการคำนึงการปรับเกณฑ์ ที่ให้ความสำคัญกับงานเทคนิค ที่ต้องได้เอกชนผู้ชำนาญงานด้านอุโมงค์ ถอดบทเรียนแก้ปัญหาในอดีต ทั้งน้ำรั่วในอุโมงค์สถานี อาคารรอบพื้นที่ร้าวจากผลกระทบของงานก่อสร้าง โดยสรุปข้อพิพาทที่ถูกเอกชนรายนี้ ฟ้องร้อง จะทำให้รถไฟฟ้าสีส้มตะวันออก ไปเปิดได้ในปี 2571 และสีส้มตะวันตก ไปเปิดได้ในปี 2573 ทีเดียว
โดยล่าสุด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้มีคำตัดสินชี้ขาดออกมาแล้วก็ถือว่าโครงการไม่มีปัญหาติดขัดใดๆ รฟม. แจ้งว่าจะเสนอผลการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และเงื่อนไขสำคัญของสัญญาร่วมลงทุน / ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2562 ในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมมีระยะเวลาในการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกฯ ให้เร็วที่สุด
ด้าน นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการผู้ว่าฯ รฟม กล่าวว่า ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังจากนี้รายละเอียด จะอยู่ในอำนาจของกระทรวงคมนาคม ที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณา หลังจากที่ ครม. เห็นชอบแล้ว การเดินรถส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ที่ปัจจุบันงานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จ ดังนั้นหากลงนามสัญญากับเอกชนได้ ก็จะสามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้ให้เอกชน เริ่มติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และจัดหาขบวนรถเข้ามาให้บริการ โดยตามสัญญามีกรอบเวลาให้เอกชนดำเนินการ 3 ปี 6 เดือน