news-details
Business

PTG ผนึกมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ-กรมป่าไม้-ธ.ก.ส. หนุนการปลูกกาแฟอาราบิก้า-พืชเศรษฐกิจยั่งยืน ส่งตรง “กาแฟพันธุ์ไทย” ตั้งเป้า 5 ปีแรกครอบคลุมพื้นที่ 3-3.5 หมื่นไร่

พีทีจี เอ็นเนอยี ฯ ลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์  กรมป่าไม้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  เพื่อดำเนินโครงการการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้า-พืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางสภาพแวดล้อมและชุมชนในประเทศไทยเพื่อร่วมสร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งตรงร้าน “กาแฟพันธุ์ไทย” ตั้งเป้า 5 ปีแรกปลูกกาแฟได้ประมาณ 30,000-35,000 ไร่ ใช้งบลงทุน 10 ล้านบาท/ปี นำร่อง 3 จังหวัด เชียงราย เขียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

นายพิทักษ์ รัชกิจประการ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจีเอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG เปิดเผยว่า ได้ลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมป่าไม้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ ป่าและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าและพืชเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาป่าเดิม เพิ่มป่าใหม่ เพื่อให้ประเทศ ได้มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เกษตรกรมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  

ที่สำคัญยังได้กาแฟอราบิก้าคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด โดยจะนำเอาเมล็ดกาแฟที่มี คุณภาพและได้คุณสมบัติตามมาตรฐานส่งมอบให้กับพีทีจีฯ เพื่อส่งต่อให้กับบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ PTG) รวมถึงรับซื้อผลผลิตกาแฟอาราบิก้า หรือพืชเศรษฐกิจจากเกษตรกรตามคุณภาพ ปริมาณ และราคาอีกด้วย  

ทั้งนี้บทบาทของพีทีจีฯ ในการลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ คือ พีทีจีร่วมส่งเสริมและสนับ สนุนองค์ความรู้ในการปลูก การแปรรูปกาแฟ หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ พร้อมทั้งรับซื้อผลผลิตกาแฟ หรือพืช เศรษฐกิจอื่นๆ ที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในราคามาตรฐานเป็นธรรมและยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุน องค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากระบวนการรับซื้อผลผลิต การคัดคุณภาพเมล็ดและการ ตรวจสอบย้อนกลับรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตกาแฟและพืชเศรษฐกิจ  ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ส่งเสริมเป้าหมายและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่าย
ในบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมถึงส่งเสริมด้านตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นตามความต้องการของลูกค้า และความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์และราคา

สำหรับความร่วมมือกับกรมป่าไม้ พีทีจีฯสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อดำเนินการจัดหาปลูกกาแฟ และ ปลูกไม้ป่าในพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ที่กรมป่าไม้จัดเตรียมให้ เพื่อการปลูกและบำรุงรักษาป่า อย่างต่อเนื่องรวมระยะเวลา 3 ปี  พร้อมทั้งพัฒนาระบบการผลิตกล้ากาแฟพันธุ์ดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการขยาย พันธุ์และดูแลกล้ากาแฟอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงร่วมกันพัฒนารูปแบบ การสร้างกระบวนการ ปลูกป่า อย่างมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพื้นที่ ป่า ถาวรในชุมชน   นอกจากนี้ยังร่วมกันสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานปลูกและบำรุงรักษาป่าในด้านผลกระทบเชิงสังคม (Social Impacts Assessment) ด้านการเจริญเติบโตและปริมาณการกักเก็บก๊าซเรือน กระจกของต้นไม้และพื้นที่ป่า

ส่วนความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พีทีจีฯสนับสนุนด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์และข้อมูลเพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชน รวมถึงจัด กิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่(CSR) และเผยแพร่ความรู้ และเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกร  พร้อมทั้งจัดหากล้าไม้ยืนต้น ต้นกล้ากาแฟบางส่วน และต้นกล้าของพืชเศรษฐกิจอื่นๆที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ที่สำคัญนำเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และคุณสมบัติตามมาตรฐานเพื่อส่งมอบให้กับพีทีจีฯในนามบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ PTG) พร้อมรับซื้อผลผลิตกาแฟอาราบิก้า หรือพืชเศรษฐกิจจาก เกษตรกรตามคุณภาพ ปริมาณ และราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด

นายรังสรรค์  พวงปราง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงินและความยั่งยืน PTG กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะใช้งบในการลงทุนประมาณ 10 ล้านบาท/ปี ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ จะเริ่มต้นที่ 3 จังหวัดแรกก่อน คือเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยการปลูกกาแฟจะต้องปลูกป่าเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนจะเป็นพืชประเภทไหน เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรนั้น จะต้องได้รับการพิจารณาจาก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กรมป่าไม้ และ ธ.ก.ส.ด้วย โดยตั้งเป้า 5 ปีแรก จะสามารถปลูกกาแฟได้ประมาณ 30,000-35,000 ไร่ แต่ด้วยความที่เป็นโครงการระยะยาว จะต้องสามารถปลูกกาแฟได้มากกว่า 30,000-30,000 ไร่ อย่างแน่นอน และ คาดว่าในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก จะสามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร รวมไปถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อเพิ่มผืนป่าได้อีกมาก

“ปัจจุบันเกษตรกรสามารถทำผลผลิตกาแฟได้ไม่ถึงครึ่งกิโลกรัมต่อไร่ แต่ด้วยศักยภาพแล้วสามารถทำผลผลิตได้ถึง 1 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้เป็นเพราะเกษตรกรยังมีองค์ความรู้ในด้านการปลูกและผลิตที่น้อย ซึ่งในอนาคตทางเครือกาแฟพันธุ์ไทยยังมีความต้องการ พื้นที่ในการปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ทั้งหมดถึง 200,000 ไร่ต่อปี จากปัจจุบันที่เกษตรกรสามารถผลิตได้เพียงประมาณ 10,000 ตันต่อปี ในขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการถึง 90,000 ตันต่อปี”นายรังสรรค์ กล่าว

นายรังสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 ที่ผ่านมาสามารถทำยอดขายได้  90-100 แก้ว/สาขา/วัน และในปี 2567 สามารถทำยอดขายได้ประมาณ 120 แก้ว/สาขา/วัน โดยรวมแล้วคนไทยจะดื่มชา-กาแฟ เฉลี่ยวันละประมาณ 1 แก้วต่อวัน หรือโดยรวมประมาณ 300 แก้วต่อวัน จากเมื่อ 3 ปีที่แล้วมียอดเดิมประมาณ 100 แก้วต่อวัน ขณะที่ชาวสหรัฐฯ จะดื่มโดยรวมประมาณ 400 แก้ว/วัน ส่วนชาวญี่ปุ่นดื่มโดยรวมประมาณ 600 แก้ว/วัน และกลุ่มสแกนดิเนเวีย ดื่มโดยรวมมากกว่า 600 แก้ว/วัน โดยปัจจุบัน กาแฟพันธุ์ไทยมีสาขาทั้งหมด 1,028 สาขา และตั้งเป้าภายในระยะเวลา 3 ปี ( 2567-2570) จะมีร้านกาแฟพันธุ์ไทยทั้งหมด 4,500 สาขา

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล  เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ดำเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไข ปัญหาการปลูกพืชเสพติดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเป้าหมาย ผ่านการสร้างอาชีพทาง เลือกสุจริตต่างๆ โดยเฉพาะการปลูกป่าเศรษฐกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนด้านเศรษฐกิจและสังคมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นองค์รวมประเมิน ความเหมาะสมของพื้นที่ และส่งเสริมการปลูกและแปรรูปกาแฟ และพืชเศรษฐกิจ

โดยพีทีจีฯได้ให้ความสำคัญกับการดูแลป่าพัฒนาชุมชน และส่งเสริมเกษตรกรท้องถิ่น และมีนโยบาย ในการเพิ่มพื้นที่ปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจตามความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และป่าเศรษฐกิจ ในพื้นที่เป้าหมาย อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต อีกทั้งมีความตั้งใจที่จะนำวัตถุดิบจากพื้นถิ่นไทยมาใช้ ในร้านค้าภายใต้การบริหารงานของพีทีจีฯ เพื่อสนับสนุนการเกษตรอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าแต่ละฝ่ายต่างมีเป้าหมายการดำเนินงานในทิศทางเดียวกันและมีความตั้งใจที่สอดคล้องต้องกันในการพัฒนาพื้นที่ โดยการส่งเสริมและฟื้นฟูพื้นที่เป้าหมาย ผ่านการดำเนินงานแบบ ผสมผสาน เช่น การปลูกป่า การปลูกกาแฟหรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และสนับสนุนการ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากงานพัฒนาทางเลือกและสนับสนุนชุมชน ตลอดจนร่วมพัฒนาการ ส่งเสริมและต่อยอดผลิตภัณฑ์จากชุมชนในพื้นที่เป้าหมายที่ได้ตกลงทำงานร่วมกัน ทุกฝ่ายจึงตกลงทำ บันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือกันในครั้งนี้

ด้าน นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงบทบาทของกรมป่าไม้ ในความร่วมมือครั้งนี้ว่า กรมป่าไม้จะสนับสนุนพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริ จำนวน ไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่ เพื่อการปลูกและบำรุงรักษาป่า พร้อมทั้งสนับสนุนด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับ พีทีจี หน่วยงานชุมชน รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามความเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานเป็น ไปอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด   อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ประจำโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ รวมถึงเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำ การจัด หาพื้นที่โครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และการประสานงานกับชุมชนในพื้นที่

นายณรงค์ ขันติวิริยะกุล รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)กล่าวว่า หน้าที่ของ ธ.ก.ส. จะประเมินความพร้อม และศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตร กรในพื้นที่ ทั้งด้านความตั้งใจในการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงความพร้อมทางด้านการเงิน รวมถึงสนับสนุน แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้ตามแผน ทั้งนี้ภาย ใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ ธ.ก.ส. และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ธ.ก.ส. กำหนด  นอกจากนี้ยังหาช่อง ทางในการพัฒนาสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อเชื่อมโยง กับตลาดที่พีทีจีรองรับ

You can share this post!