คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมการแข่งขัน "SPU Coding Bootcamp 2025" การแข่งขันเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ด้วยเครื่องมือ Low Code/No Code โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 172 คน แบ่งเป็น 42 ทีม จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา (ปวช.) ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 20,000 บาท เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนและนักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมและนำไปต่อยอดในโลกการทำงานจริง
กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นประธานเปิดงาน ณ Exhibition Zone C ชั้น 1 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา
โดยก่อนเริ่มการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ Workshop กับวิทยากรพิเศษ คุณนริศร ลิมปสวัสดิ์ไพศาล Account Technology Strategist จาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล
เมื่อเข้าสู่ช่วงการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมจะต้องระดมความคิดสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ Microsoft Power app ที่มีทั้งความสวยงาม น่าสนใจ และใช้งานได้จริง โดยคณะกรรมการได้พิจารณาผลงานที่โดดเด่นที่สุด ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องสวยงามและมีความสร้างสรรค์ แต่ยังต้องมีประโยชน์และสามารถใช้งานได้จริง และทีมที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ
ทีม “ติดมหาลัยแล้วว่าง” จากผลงาน “แอปพลิเคชั่นตรวจสอบ Scammer”
- นายธนภณ ธนาดุลเปรมเดช โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย
- นายทรงพล ซ้ายขวา The Newton Sixth Form
- นายธนโชติ เทศกัณฑ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีม “ลิงเองงับ” จากผลงาน “แอปพลิเคชั่นจัดการขยะ”
โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนเเวนต์
- นางสาวชญานิศ นิธิรัถยา
- นางสาวณัฐกาญจน์ ตั้งปูชนียกุล
- นางสาวสิริบุณย์ บุญรักษา
- นางสาวชนกนันท์ ศรีเจริญ
- นางสาวณิชชากัญญ์ แสงทองสุก
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ทีม “WELOVEROBLOX” จากผลงาน “แอปพลิเคชั่น Roblox ID”
- นายธนัญญ์ธัช สายสุด โรงเรียนเทพศิรินทร์
- นายกฤตยชญ์ รักทอง โรงเรียนเทพศิรินทร์
- นายธนัท ทองแจ่ม โรงเรียนเทพศิรินทร์
- นายฐาปนพงศ์ สุขใจ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
- นายยสินทร แซ่เตียว วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในยุคดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแก่เยาวชนไทย ให้ก้าวสู่เส้นทางการทำงานในอนาคตต่อไป